วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระกริ่งสุดยอดยิ่งของเมืองไทย คือ






" พระกริ่งปรวเรศ"กับ "พระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชธรรม"

" พระกริ่งปรวเรศ"
พระกริ่งปรวเรศเป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวชิยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชสร้างขึ้นถวายรัชกาลที่ 4 และประทานเจ้านาย
สำหรับรายละเอียดในการสร้างพระพุทธลักษณะของพระกริ่งปวรเรศ มีดังนี้
1. จำนวนที่สร้างไม่เกิน 30 องค์
2. สมุห์บัญชีในกรมของพระองค์ ขอประทานพระอนุญาตทำแบบเจิมให้พระกริ่งปวรเรศไปสร้างอีก แต่ไม่ทราบว่าเท่าใด ผู้เขียนเข้าใจคงไม่มากเช่นเดียวกัน เพราะสร้างสมัยนั้นคุณค่าของพระไม่ได้ตีราคาเป็นเงินอย่างในสมัยนี้
3. เป็นพระเครื่องที่สร้างเลียนแบบพระกริ่งเขมร หรือที่เรียกว่า พระกริ่งปทุมสุริยวงศ์ หรือเรียกว่ากริ่งใหญ่
4. มี 2 สี คือ สีดำกับสีเหลือง
5. ที่ก้นอุดด้วยแผ่นทองแดงก็มีเหลืองก็มี
6. พระพักตร์ และรูปร่างแตกต่างกันไปบ้าง เพราะเป็นพระที่ช่างทองหลายคนแต่ง
7. มีเครื่องหมายลับมีรอยตอกรูปเมล็ดงา อยู่ที่ข้างกลีบบัวด้านหลัง ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของกลีบบัว

ส่วนพระกริ่งของสมเด็จพระสังฆราชธรรม

มีรายละเอียดในการสร้างและพุทธลักษณะ ดังนี้
1. พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชธรรม วัดสุทัศน์ฯ ทรงสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2441 เมื่อครั้งทรงสมณศักดิ์ทรงสร้างเป็นพระเทพโมลี จนถึง พ.ศ. 2479
2. ทรงสร้างไว้ประมาณ 1500 องค์
3. เนื้อโลหะที่ผสมสร้าง 9 ชนิด มีส่วนผสมสร้างดังนี้ ชนิดหน้า 1 บาท จ้าวน้ำเงินหนัก 2 บาท เหล็กละลายตัวหน้า 3 บาท บริสุทธิ์หนัก 4 บาท ปรอดหนัก 5 บาท สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท เงินหนัก 8 บาท ทองคำหนัก 9 บาท นอกจากนั้น สมเด็จพระสังฆราชธรรม ยังใช้เงินกลมพดด้วงตรายันต์ มีรัศมีเปลวเพลิงและตรายันต์ชฎา ซึ่งเป็นเงินตราสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 20 สมัยกรุงศรีอยุธยากับเงินตราราชวัตร์ ในสมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาผสมลงไปด้วย
4. พระกริ่งรุ่นแรกรุ่นแรกพระสังฆราชธรรม ทรงถือแบบพระกริ่งปวรเรศเป็นหลัก แต่พระกริ่งรุ่นหลังๆ ทรงถือแบบพระกริ่งหนองและพิมพ์ใหญ่เป็นหลักในการหล่อ
5. เมื่อสมเด็จพระสังฆราชธรรม ทรงชราภาพมากขึ้น พระองค์ได้มอบให้พระมงคลราชมุนี (สนธิ) เมื่อตอนเป็นเปรียญเป็นผู้สร้าง และพระมงคลราชมุนีก็ได้สร้างพระกริ่งมาทุกปีจนมรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2495ปัจจุบันทั้งพระกริ่งปวรเรศและพระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชธรรมหายากเสียแล้ว ถ้าท่านผู้ใดมีอยู่ก็สมควรจะหวงแหนเอาไว้อย่างสุดบูชา เพราะเป็นยอดพระกริ่งดังกล่าว
•••••••••••••••••••••••••

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น