วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธาน

ลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2471 ณ บ้านจิกก่อ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ อุบลฯ เป็นบุตรของนายมา นางพิมพ์ ช่วงโชติ

บรรพชา เมื่ออายุ 13 ปี ณ วัดมณีวนาราม

อุปสมบท อายุ 21 ปี ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ

มรณภาพ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2536

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

สำหรับวัตถุมงคลที่คณะศิษย์สร้าง แล้วขอเมตตาจากท่านให้อธิษฐานจิตให้นั้น มีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น พระเนื้อผง เหรียญ ล็อกเกต และประเภทเครื่องรางของขลังบางชนิด แต่เฉพาะที่นิยมเล่นกันนั้น คือ เหรียญ 2 รุ่นด้วยกัน คือ เหรียญพระแก้วมรกต สร้างเมื่อปี 2517 ซึ่งมีทั้งเนื้อเงิน ทองแดง (คาดว่าจะมีเนื้อทองคำด้วย) สำหรับเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี 2518 ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเด่นทางเมตตามหานิยมเสียส่วนมาก

หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2430 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน เป็นบุตรของ นายลอย นางทับ รัตนดอน

บรรพชา เมื่ออายุ 17 ปี พ.ศ.2447 ณ วัดประดู่ฉิมพลี

อุปสมบท อายุ 20 ปี ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2450 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม

มรณภาพ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2524

รวมสิริอายุ 93 ปี 10 เดือน 22 วัน

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 ซึ่งวงการนิยมเรียกว่า “พระผงแช่น้ำมนต์ 13 พิมพ์แรก” หลังจากนั้นมีการสร้างติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งท่านมรณภาพ ทั้งประเภทพระเนื้อผง เหรียญ และพระกริ่ง ที่นิยมมากได้แก่ พระปิดตาพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พระปิดตาจัมโบ้ 1-2 พระปิดตาข้างกนก พระปิดตาหลังเต่า พระปิดตา นะ ทะ นะ และพระปิดตาปลดหนี้ เป็นต้น

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยมเป็นหลัก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ในสมัยรัชการที่ 1 ณ บ้านไก่จัน ต.ท่าหลวง พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นางเกศ เป็นขาว

บรรพชา อายุ 12 ปี และย้ายมาอยู่วัดระฆังในสมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(นาค) เป็นเจ้าอาวาส

อุปสมบท ณ วัพพระศรีรัตนศาสดาราม ปี พ.ศ.2415

รวมสิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 5 วัน

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลของท่านที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งสร้างและปลุกเสกโดย เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีทั้งหมด 5 พิมพ์ คือ

พิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์ใหญ่

พิมพ์ทรงเจดีย์

พิมพ์เกศบัวตูม

พิมพ์ฐานแซม

พิมพ์ปรกโพธิ์ ซึ่งพิมพ์นี้พบเห็นได้น้อยมาก จึงไม่ค่อยได้กล่าวมากนัก

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน10 ปีกุน เป็นบุตรของนายบุญ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง

อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านถนนหักใหญ่ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

หลวงพ่อคูณ ร่วมสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ขณะพำนักจำพรรษาอยู่วัดแจ้งนอก อ.เมือง เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ไม่แพ้เหรียญรุ่นสร้างบารมี ปี 19 ซึ่งออกในนามวัดบ้านไร่

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
ทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู" เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วงเจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมาเมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมดครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทมรุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม" ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีรามท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลยขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น
พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"
กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยาขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้วท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไปเมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสีพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี:วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย ได้จัดสร้าง พระสมเด็จชินบัญชร และ"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรก พระเถราจารย์ร่วมจารแผ่นยันต์ บรรจุแผ่น พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นสุดยอดอมตะเถราจารย์ดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยรู้จักมากที่สุด ทั้งนี้ มีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ท่านนอนอยู่ที่อยุธยา มานั่งที่ไชโย มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง" และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำและรำลึกถึงสถานที่สำคัญ ท่านจึงสร้างปูชนียวัตถุอันเป็นที่พึ่งทางใจของผู้พบเห็น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ใหญ่โตตามนามของท่าน อาทิ พระนอน (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ, พระนั่งองค์ใหญ่ (พระมหาพุทธพิมพ์) วัดไชโย จ.อ่างทอง พระยืน (พระศรีอาริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหม) ฯลฯ นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้าง "พระสมเด็จวัดระฆัง" สุดยอดพระเครื่องเนื้อผงที่สูงส่งด้วยพุทธานุภาพ จนได้รับการยกย่องให้เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับการถวายสมญานามว่าเป็น "ราชาแห่งพระเครื่อง" ด้วย

ทั้งนี้ หากกล่าวถึงสมเด็จโต ย่อมต้องนึกถึง "พระคาถาชินบัญชร" ควบคู่ไปด้วย เพราะสมเด็จโตท่านใช้เป็นพระคาถาปลุกเสกพระพิมพ์สมเด็จจนมีพุทธคุณความเข้ม ขลังมาตราบจนทุกวันนี้ พระคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา สมเด็จโตท่านค้นพบในคัมภีร์โบราณ แล้วดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาที่ได้เคยตรัสรู้มา ก่อนหน้านั้น
"รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายใน"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรกจากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพอันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่ เหมือนกัน นอกจากนั้น ยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้อง เป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถา ลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้ โดยเชื่อกันว่า การท่องพระคาถาชินบัญชรทุกวันเปรียบเสมือนมีพระสมเด็จบูชาอยู่กับตัวเช่นกัน ล่าสุด คณะกรรมการดำเนินงานจัดหาทุน เพื่อสมทบทุนการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม "ธรรมโมลี" ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสมทบทุนโครงการสร้างพระถวายเจ้าพ่อหลวงของแผ่นดิน "พระพุทธอสีติวัสสามหาบพิตร" ณ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาฯ วัดสังฆาราม อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "สมเด็จชินบัญชร รุ่นประทานเงิน ประทานทอง ได้เงิน ได้ทอง ต่อเงิน ต่อทอง" โดยนำพระพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ประธาน, พิมพ์เส้นด้าย และพิมพ์เกศไชโย 7 ชั้นนิยม มาสร้างย้อนยุค โดยได้รับมวลสารจากวัดต่างๆ มาเป็นส่วนผสม พระวิปัสสนาจารย์ และพระเถราจารย์ชั้นนำร่วมจารแผ่นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมบรรจุแผ่นพระคาถาชินบัญชรวัตถุมงคลพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี ชุดนี้ประกอบด้วย สมเด็จชินบัญชร พิมพ์ประทาน สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย สมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม ด้านหน้า แต่ละพิมพ์มี 3 แบบคือ สมเด็จชินบัญชร ด้านหน้าทองคำ หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองคำ, ด้านหน้าเงิน หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อเงิน ด้านหน้าทองเหลือง หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองเหลือง นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้าง ตะกรุดชินบัญชร รุ่นแรก ซึ่งมีความแปลกใหม่ ให้ความเข้มขลังด้วยการนำ "รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายในตะกรุด โดยรังต่อเสือนี้ผ่านพิธีปลุกเสกเดี่ยวด้วยพระคาถาอาคมของเกจิอาจารย์ดัง แห่งยุคคือ หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อรวย วัดตะโก สร้าง 3 แบบคือ "ต่อเงิน ต่อทอง ต่อทองเหลือง" พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร 1 พรรษา (ตลอดไตรมาส) โดยกำหนดฤกษ์มหามงคลภายใน 3 เดือน แห่งการเข้าพรรษา อัญเชิญวัตถุมงคลไปจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอารามที่เป็นต้นกำเนิดการสร้างวัตถุมงคลของสมเด็จโตจำนวน 3 วาระ คือ ปฐมฤกษ์ วันเสาร์ที่ 18 ก.ค.2552 ณ วัดไชโยวรวิหาร อ.เมือง จ.อ่างทอง ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เกศไชโย" เวลา 17.19 น.พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก ทุติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 8 ส.ค.2552 ณ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) เขตพระนคร กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกปลุกเสก ตติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 26 ก.ย.2552 ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์ประธาน" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรก อาทิ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน เป็นต้น

เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก ปี 2482


เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก ปี 2482
เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน ปี พ.ศ.2482วัดบ้านปาง เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก กันทั่วๆ ไปมานานแล้ว โดยเรียกกันตามชื่อของหมู่บ้าน ประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2439 ครูบาขัติยะ เป็นพระที่อยู่ในเมืองลำพูน ได้เดินธุดงค์มาถึงบ้านปางและพักที่เชิงเขาทางทิศเหนือ ประชาชนถิ่นนั้นเคารพเลื่อมใสท่านมาก และได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักเพื่อจะได้ให้ท่านได้พักจำพรรษา และจะได้ใช้ประกอบกุศลทำบุญต่อมาในปีนั้นเอง ครูบาศรีวิชัยก็ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์และบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ.2441 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบ้านปางนั่นเอง ต่อมาภายหลังครูบาขัติยะท่านได้ธุดงค์ไปถิ่นฐานอื่น ท่านครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นเจ้าอาวาสแทน แต่ท่านได้เห็นว่า ที่ตั้งวัดไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2446 ท่านจึงได้ย้ายวัดจากที่เดิมไปสร้างวัดขึ้นบนเนินภูเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน แล้วขนานนามวัดใหม่ว่า "วัดศรีจอมสหรีศรีทรายมูลบุญเรือง" แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกกันติดปากว่า "วัดบ้านปาง" กิตติคุณของท่านแพร่หลายเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือของชาวล้านนาเป็นอย่างมากครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและเป็นที่เคารพ ศรัทธามากของจังหวัดทางภาคเหนือ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สร้างถนนหนทางและวัดวาอารามมากมาย จนชาวเหนือยกให้ท่านเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อท่านเดินทางไปนมัสการพระธาตุช่อแฮ ที่เมืองแพร่ บรรดาชาวเมืองแพร่พากันเอาน้ำใส่ภาชนะมาขอน้ำมนต์กันเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีผู้สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย ขาดที่พึ่งต้องการกำลังใจ ท่านครูบาศรีวิชัยจึงมีเมตตา สงสารปรารถนาจะให้ผู้ที่นำน้ำมาสมปรารถนา จึงเอาลูกประคำที่ท่านสวมใส่ใช้บริกรรมคาถาภาวนาอยู่เป็นประจำ จุ่มลงไปในน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างๆ โดยทั่วถึงกัน ผลก็คือความปลาบปลื้มใจของผู้ที่ได้มาในวันนั้นเป็นอย่างมาก ต่างก็นำไปเก็บบูชาและอธิษฐานขอตามความปรารถนา ครูบาศรีวิชัยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2481 สิริอายุได้ 60 ปี พรรษาที่ 40วัตถุมงคลของท่านนั้นได้จัดสร้างภายหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วทั้งสิ้น มูลเหตุในการสร้างก็คือ พระครูวิมลญาณประยุต (มหาสุดใจ วิกสิตฺโต) ซึ่งเป็นพระที่มาจากวัดเบญจมบพิตร ซึ่งมาช่วยบริหารคณะสงฆ์ จังหวัดลำพูน ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน พิจารณาจัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่ระลึกและเพื่อจะนำรายได้มาใช้จ่ายในงานทำศพครูบาศรีวิชัย โดยมีนายคล้อย ทรงบัณฑิต เป็นผู้นำมาจัดทำที่กรุงเทพฯ ผู้ออกแบบ เหรียญครูบาศรีวิชัยคือ พระกองแก้ว นาถกโร วัดมหาวัน ลำพูน เหรียญนี้ได้ออกให้เช่าราคาเหรียญละ 5 สตางค์ ส่วนพระเกศานั้นทำแจกฟรี
เหรียญครูบาศรีวิชัย ที่สร้างใน ปี พ.ศ.2482 นั้นเป็นที่เคารพศรัทธา และแบบรูปไข่ครึ่งองค์ตามที่ผมนำรูปมาให้ชมนี้มีอยู่สองบล็อก คือบล็อก 2 ชาย และ 3 ชาย ปัจจุบันมีสนนราคาสูง และนิยมกันมาก รูปที่นำมาลงให้ชมกันนี้ เหรียญครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นเหรียญรูปไข่ปี พ.ศ. 2482 บล็อกพิมพ์ 2 ชายครับด้วยความจริงใจที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด แทน ท่าพระจันทร์

หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน


หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน

หลวงพ่อโหน่ง ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2409 ที่ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โต โยมมารดาชื่อ จ้อย อาชีพทำนา เมื่ออายุได้ 24 ปี พ.ศ.2433 ท่านก็อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง โดยมีพระอาจารย์จันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปจำพรรษาอยู่กับพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาหลวงพ่อโหน่งท่านได้เห็นพระน้าชายมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ มีสิ่งของมากมาย ท่านจึงถามพระน้าชายว่าท่านสละกิเลสหมดแล้วหรือ หลังจากนั้นท่านก็ลาพระน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งคอก เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ พระอุปัชฌาย์ของท่าน

หลวงพ่อโหน่งได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงพ่อจันทร์ได้ 2 พรรษา จึงได้เดินทางมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่อกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จนกระทั่งมีความรู้แตกฉาน เป็นที่ไว้วางใจของหลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเนียม หลวงพ่อเนียมได้พูดกับหลวงพ่อปานว่า "เวลาข้าตายแล้วเอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้"เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง ท่านเกิดมีจิตใจไม่สบายอย่างไรชอบกล ท่านจึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะกล่าวอะไร หลวงพ่อเนียมท่านพูดขึ้นก่อนว่า "ฮื้อ ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหรอก กลับไปเถอะ" หลวงพ่อโหน่งท่านจึงรู้สึกสบายใจกลับไปวัดสองพี่น้องได้ต่อมาหลวง พ่อแสงผู้สร้างวัดคลองมะดัน ทราบว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นผู้ที่จะมาแทนท่านได้จึงนิมนต์หลวงพ่อโหน่งให้มาจำ พรรษาอยู่ที่วัดคลองมะดัน เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านอาจารย์แสง เมื่อหลวงพ่อแสงมรณภาพลง หลวงพ่อโหน่งก็รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมาเมื่อหลวงพ่อโหน่งท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัด คลองมะดัน ท่านฉันภัตตาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาตจะมานมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาก็จะใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วยปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม หลวงพ่อโหน่งท่านเคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงินทอง เจริญวิปัสสนากรรมฐานในป่าช้าเป็นประจำ ท่านถือสันโดษไม่สะสมทรัพย์สิน ท่านได้สร้างสาธารณูปการเพิ่มขึ้นอีกมากมาย หลวงพ่อโหน่งท่านล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้เสมอ พระเณรทำผิดอะไรที่ไหนท่านรู้หมดโดยที่ไม่มีใครมาบอกท่าน มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อปานจะไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน หลวงพ่อโหน่งได้บอกกับลูกศิษย์ให้จัดเตรียมที่ทางไว้ วันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา และในวันนั้นหลวงพ่อปานก็ไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดจริงๆ หลวงพ่อโหน่งท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2477 สิริอายุได้ 68 ปี พรรษาที่ 44หลวงพ่อโหน่งท่านได้สร้างพระเครื่อง ไว้ให้แก่ศิษย์เป็นพระเนื้อดินเผา สันนิษฐานว่าท่านสร้างไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2461 โดยใช้เวลาการสร้างนานถึง 10 ปี มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกันเช่น พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์สมเด็จ พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์ชินราช พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ลีลา พิมพ์ปิดตา พิมพ์ขุนแผน พิมพ์ไสยาสน์ เป็นต้นพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งล้วนแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มากมาย เป็นที่หวงแหนของ ชาวสุพรรณฯ พิมพ์ที่นิยมมากๆ ก็คือ พิมพ์ซุ้มกอและพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย วันนี้ผมนำ พระหลวงพ่อโหน่ง พิมพ์ซุ้มกอใหญ่ องค์สวยของคุณดามพ์ สุพรรณ มาให้ชมกันครับ

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

หลวงปู่เอี่ยม-รัชกาลที่ 5 รุ่น100ปี ประพาสยุโรป




วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 19 ฉบับที่ 6751 ข่าวสดรายวัน
หลวงปู่เอี่ยม หรือ "เจ้าคุณเฒ่า" แห่งวัดหนัง บางขุนเทียน กรุงเทพฯ เป็นพระเถราจารย์ผู้ทรงวิทยาคมแก่กล้า ชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของผู้คนทั้งสยามประเทศ โดยเฉพาะยิ่งในบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง เหรียญพระเครื่องของท่านได้รับการยอมรับอยู่ในระดับแนวหน้า เป็นหนึ่งในทำเนียบ "เหรียญเบญจภาคี" ถ้าพูดถึงหลวงปู่เอี่ยมคงต้องกล่าวถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อย้อนปูมหลังถึงประวัติตอนหนึ่ง ครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ.2440 หลวงปู่เอี่ยมไม่โอ้อวดอุตริมนุสธรรม ท่านมักจะกล่าวอยู่เสมอว่า "ตัวท่านไม่สามารถเทียบได้กับพระอาจารย์ (หลวงปู่รอด) ผู้เก่งกล้า" แต่ชาวบ้านในเขตบางขุนเทียนมักจะพูดถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงปู่เอี่ยมอยู่เสมอ ดังเช่นเรื่องการกำราบสัตว์ร้าย เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอยู่ว่า ในปี พ.ศ. 2440 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ เสด็จประพาสยุโรป เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ โดยก่อนการเสด็จ สมเด็จพระสังฆราชปุสสเทโว ได้ถวายพระพร และแนะนำให้เสด็จไปอาราธนาพระอธิการเอี่ยมแห่งวัดหนัง เพื่อรับถวายคำพยากรณ์ และพระมงคลพุทธาคม ดังนั้นจึงเสด็จไปพบหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งได้ถวายพระพร และทรงทำนายว่าในการเสด็จครั้งนี้ พระราชกรณียกิจทั้งปวงจะสำเร็จลุล่วง แต่ในโอกาสหนึ่งพระองค์จะต้องทรงประทับขี่สัตว์จัตุรงคบาท อันชาตินิสัยที่ดุร้าย แต่ด้วยพระบุญญาธิการพระองค์จะทรงปลอดภัย หลวงปู่เอี่ยมจึงถวายพระคาถาบริกรรมเสกหญ้า เพื่อปราบสัตว์ แล้วพระองค์ก็ทรงเสด็จประพาสยุโรป เหตุการณ์ล่วงหน้าที่หลวงปู่เอี่ยมได้ถวายคำทำนายก็เกิดขึ้น คือในขณะทรงประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส ได้มีเจ้าชายพระองค์หนึ่งเชิญเสด็จ เพื่อพระทอดเนตรการแข่งขันกีฬาโปโล และการขี่ม้าพยศ โดยในระหว่างการแสดงขี่ม้าพยศนั้น ได้มีม้าตัวหนึ่งรูปร่างสูงใหญ่อีกทั้งพยศและดุร้าย ไม่มีผู้ใดสามารถบังคับขี่มันได้ เจ้าชายฝรั่งเศสองค์นั้นนั้งจึงทรงทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ว่า "ที่เมืองไทยนั้น มีม้าพยศดุร้ายอย่างนี้ไหม และมีคนไทยสามารถบังคับมันได้หรือ" พระองค์จึงตรัสว่า "ก็พอมีบ้าง" แล้วได้ทรงรำลึกถึงคำพยากรณ์ และพระพุทธาคมที่หลวงปู่เอี่ยมได้ทรงถวายจึงไม่ตรัสตอบแต่ประการใด แต่ทรงเสด็จลงจากแท่นประทับ แล้วตรัสให้จ๊อกกี้นำเจ้าม้าพยศนั้นมาใกล้ๆ แล้วพระองค์ทรงย่อพระวรกายลงหยิบหญ้า จากนั้นทรงตั้งจิตอธิษฐานบริกรรมพระคาถาที่หลวงปู่เอี่ยมได้สอนถวาย

พลันยื่นกำหญ้านั้นให้เจ้าม้ากิน ม้าอ้าปากรับแล้วบดเคี้ยวแต่โดยดี พระองค์จึงตรัสขอบังเหียนในขณะที่เจ้าม้าพยศนั้นยังอยู่ในอาการที่ปกติ แล้วพระองค์ทรงขึ้นประทับบนหลังม้า แล้วบังคับให้มันออกวิ่งและเดินไปรอบๆ โดยมีชาวต่างชาติที่เข้าร่วมชมการแสดงในวันนั้นต่างโห่ร้องอย่างกึกก้อง ในพระบุญญาธิการของพระองค์ที่ทรงกำราบเจ้าม้าพยศตัวนั้นลงได้ เมื่อเสด็จกลับถึงประเทศไทย พระองค์ได้ไปสักการะหลวงปู่เอี่ยมที่วัดโคนอน ทรงตรัสเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทรงถวายของฝากต่างๆ ดังนั้นในโอกาสมงคล พระครูโสภิตบุญญาทร เจ้าอาวาสวัดยายร่ม ได้ระลึกถึงในความดีของท่านทั้งสอง เป็นปูชนียบุคคลที่ประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่าให้ความเคารพศรัทธาไม่เสื่อมคลาย เพื่อเป็นการเทิดทูนแด่พระองค์ท่านทางวัดยายร่มได้จัดสร้างเหรียญเสมาหลวงปู่เอี่ยม-รัชกาลที่ 5 รุ่น 100 ปี เสด็จประพาสยุโรป มีเหรียญเสมา เนื้อกะไหล่เงิน บูชาองค์ละ 149 บาท เนื้อทองแดง บูชาองค์ละ 99 บาท เนื้อกะไหล่ทอง บูชาองค์ละ 149 บาท เนื้อเงิน บูชาองค์ละ 999 บาท เนื้อสามกษัตริย์ บูชาองค์ละ 199 บาท เนื้อนวโลหะ บูชาองค์ละ 499 บาท เหรียญทรงกลมรัชกาลที่ 5 เนื้อกะไหล่เงิน บูชาองค์ละ 149 บาท เนื้อทองแดง บูชาองค์ละ 99 บาท เนื้อกะไหล่ทอง บูชาองค์ละ 149 บาท เนื้อสามกษัตริย์ บูชาองค์ละ 199 บาท เนื้อว่านดำ-แดง บูชาองค์ละ 49 บาท พิเศษเครื่องรางหน้ากากเสือ บูชาอันละ 199 บาท พิธีมหาพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2552 โดยหลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว จุดเทียนชัย เกจิอาจารย์ชื่อดังหลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร อธิษฐานจิตปลุกเสกเข้มขลัง สร้างจำนวนจำกัด (ทุกองค์มีโค้ด) สนใจบูชาวัตถุมงคลได้ที่วัดยายร่ม ธนาณัติสั่งจ่ายในนามพระครูโสภิตบุญญาทร เจ้าอาวาสวัดยายร่ม เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 ปณ บางประแก้ว (ค่าจัดส่ง 30 บาท) และศูนย์พระชั้นนำทั่วไป รายได้นำไปสร้างศาลาอเนกประสงค์คอลัมน์ หลังเลนส์ส่องพระเอกอุ

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ : ข่าวสด

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปัตตานี


ข้อมูลประวัติ
เกิด -
บรรพชา อายุ 15 ปี
อุปสมบท ณ วัดสีมาเมือง นครศรีธรรมราช ฉายาว่า สามีราโม

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
พระหลวงปู่ทวด แม้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นโดยหลวงปู่ทวด และหลวงปู่ทวดไม่ได้ปลุกเสกในความขลังศักดิ์สิทธิ์ของพระหลวงปู่ทวดนั้น คงไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ นับจากพระพิมพ์นี้ มีปฐมบทมาแต่ครั้งปี พ.ศ.2497 ได้มีการจัดสร้างขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยมสูงสุดได้แก่ ที่ออกในนามวัดช้างให้ วัดทรายขาว วัดเมือง วัดพะโคะ เป็นต้น

ความเป็นอมตะในตำนานหลวงปู่ทวด พระหลวงปู่ทวด สิ่งที่ไม่อาจลืมเลือนควบคู่กับตำนานดังกล่าวนั้น นามที่จะเคียงคู่ตลอดไปคือ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร ท่านเป็นพระผู้สร้างตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดช้างให้ ที่คนส่วนใหญ่ยังระลึกถึงท่านเสมอในฐานะ ผู้ปิดทองหลังพระอย่างแท้จริง

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรรมวิธีและวัตถุดิบในการสร้างพระ

กรรมวิธีและวัตถุดิบในการสร้างพระ
กรรมวิธีการสร้างพระ สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และ ประเภทเครื่องราง
ประเภทพระเครื่อง ได้แบ่งการสร้างพระเครื่องออกเป็น
1. การสร้างพระเนื้อดิน
2. การสร้างพระเนื้อชิน
3. การสร้างพระเนื้อผง
4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั้ม พระฉีด
5. การสร้างพระเนื้อว่าน
6. การสร้างพระจากวัสดุอื่นๆ

1. การสร้างพระเนื้อดิน
พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว
ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด
เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ
นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้
พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น
พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น
1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น
ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

2. การสร้างพระเนื้อชิน
พระเนื้อชินถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ
ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก
ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ
ตะกั่ว เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา
ตะกั่ว เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ
จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว
เนื้อชิน จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ
2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น
2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น
2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น
กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้
พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

3. การสร้างพระเนื้อผง
ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง
พระเครื่องเนื้อผง ที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360
สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ
3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน
เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น
สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)
จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง
ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ
บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย
ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท
จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ
2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”
“ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย
-ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)
-ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)
-ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)
-ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ
-ดอกกาหลง
-ยอดสวาท
-ยอดรักซ้อน
-ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)
-ขี้ไคลประตูวัง
-ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)
-ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)
-ชัยพฤกษ์
-พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)
-พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)
-กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)
น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี
-ดินสอพอง
เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ
เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว
3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้
3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ
ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ
การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน
3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้
3.3.3) การทำผงมหาราช ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”
3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์
3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย
อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”
เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้
4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ
เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน
5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น
5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ
5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม
5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน
พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั๊ม พระฉีด
การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน
พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้
1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว
2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน
3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก
พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย
1. พระเนื้อทองคำ
2. พระเนื้อเงิน
3. พระเนื้อทองแดง
4. พระโลหะผสม
สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่
1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย
ชิน น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)
จ้าวน้ำเงิน น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)
เหล็กละลายตัว น้ำหนัก 3 บาท
บริสุทธิ์ น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)
ปรอท น้ำหนัก 5 บาท
สังกะสี น้ำหนัก 6 บาท
ทองแดง น้ำหนัก 7 บาท
เงิน น้ำหนัก 8 บาท
ทองคำ น้ำหนัก 9 บาท
นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง
2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น
3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก
4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น
5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์
6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน
7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท
8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ
9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น
โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา
นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น
วิธีการสร้างพระ
เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้
การหล่อแบบโบราณ
เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น
ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้
1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”
2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ
3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง
4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ
5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”
พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง
การหล่อแบบสมัยใหม่
นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ
1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว
2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์
3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์
การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ
ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

5. การสร้างพระเนื้อว่าน
นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้
“ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”
จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”
แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”
กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ
เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้
“พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า 16 เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้องการที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ 84,000 องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ 64,000 องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12.00 น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน
สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีส่วนผสมต่างๆ เช่น
1. ว่าน 108 ชนิด 2. ปูนขาว 3. กล้วยป่า 4. ผงขี้ธูป 5. คราบไคลสถูปเก่าที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด 6. แร่ 7. ดินกากยายักษ์ 8. ดอกไม้แห้ง 9. น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ
การโขลกตำส่วนผสมของเนื้อพระใช้ครกหินหลายใบ โดยตำเนื้อว่านกับดินดำก่อน เมื่อละเอียดแล้วจึงใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อยกับกล้วยป่าทั้งเนื้อทั้งเม็ดตำให้เหนียว แล้วจึงใส่ผงธูป ดอกไม้แห้ง แร่และอย่างอื่นผสมลงไป ระยะแรกๆ จะตำเนื้อละเอียด ต่อมาได้เร่งตำเพื่อให้ทันฤกษ์พิธี ปลุกเสกจึงตำออกมาเนื้อหยาบ ส่วนผสมและสีของเนื้อพระจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางองค์มีสีดำจัดเพราะใส่ดินกากยายักษ์มาก บางองค์มีสีเทาค่อนข้างขาวเพราะใส่ปูนขาวลงไปมาก และเนื้อพิเศษขั้นทดลองพิมพ์มีจำนวนน้อยมาก
การพิมพ์พระ บางองค์ร่อนจึงแกะออกจาแม่พิมได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ไม้เสียบใต้ฐานองค์พระ เพื่องัดองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์ แล้วจึงนำผงแร่มาแปะที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์
มวลสารในเนื้อพระ มักพบมีเม็ดแร่สีขาวขุ่น, สีดำ, สีขาวอมเหลือง, สีน้ำตาล, เม็ดทรายสีขาวหรือผงวิเศษปรากฏอยู่ทั่วไป โดยพบมากที่ด้านหลังขององค์พระ”
จากกรรมวิธีการสร้างที่ยกตัวอย่างมา ผู้ที่ศึกษาคงมองออกถึงขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการสร้างพระเนื้อว่านยังมีอยู่ หากแต่พบน้อยมาก เนื่องจากความยากลำบากในการเสาะหาว่านมงคลต่างๆ ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระ แต่อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการสร้างพระ ซึ่งคงเหลือเด่นชัดในพระไม่กี่ประเภท

6.การสร้างเครื่องราง
เครื่องราง นับเป็นความเชื่อและศรัทธาสากล เนื่องจากทุกอารยธรรมทั่วโลกล้วนมีเครื่องรางเป็นสิ่งมัดใจ ให้กำลังใจ ทั้งโน้มน้าวจิตใจมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับประเทศไทย มีการพบเครื่องรางของขลังมาแต่ยุคสุโขทัย หากแต่มาเฟื่องฟูในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเริ่มดับมอดลงเมื่อคราวกรุงแตก แต่กระนั้นเครื่องรางของขลังก็ยังอยู่ในใจผู้คนมาโดยตลอด มิเคยถูกลบเลือน
พระคณาจารย์โบราณ ผู้มากด้วยพระเวทย์วิทยาคม จะนิยมสร้างเครื่องรางของขลังไว้ให้เฉพาะแก่ผู้ใกล้ชิด ดังนั้นการสร้างเครื่องรางของขลัง จึงเป็นงานสร้างเฉพาะตัว โดยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ในแต่ละองค์คณาจารย์ เหมือนลักษณะของลายมือหรือฝีมืองานช่างเครื่องรางของขลังจึงเป็นวัตถุมงคลที่ไม่ตายตัว แต่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่มีพิมพ์ ไม่จำกัดรูปร่าง แต่เค้าโครงแนวทางการสร้างกำเนิดมาจากผู้สร้างผู้ใด ก็จะคงความเป็นตัวตน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่บ่งบอกว่า ฝืมือใคร ใครสร้าง สร้างจากวัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้สร้าง
วัสดุทุกชนิด สามารถนำมาเป็นเครื่องรางของขลังได้ ขอเพียงได้ผ่านการอธิษฐานจิต ลงพระคาถาอาคมพระเวทย์จากผู้สร้างที่เข้มขลังจริง
ดังนั้น การศึกษาเรื่องเครื่องรางของขลัง จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่เนื่องจากเครื่องรางของขลัง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมศรัทธากันมาก ทั้งมีมูลค่าทางการสะสมสูงในบางพระคณาจารย์ จึงสมควรที่จะกล่าวถึงให้ทราบพอสังเขป