วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธาน

ลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2471 ณ บ้านจิกก่อ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ อุบลฯ เป็นบุตรของนายมา นางพิมพ์ ช่วงโชติ

บรรพชา เมื่ออายุ 13 ปี ณ วัดมณีวนาราม

อุปสมบท อายุ 21 ปี ณ วัดก่อใน ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ

มรณภาพ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2536

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

สำหรับวัตถุมงคลที่คณะศิษย์สร้าง แล้วขอเมตตาจากท่านให้อธิษฐานจิตให้นั้น มีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น พระเนื้อผง เหรียญ ล็อกเกต และประเภทเครื่องรางของขลังบางชนิด แต่เฉพาะที่นิยมเล่นกันนั้น คือ เหรียญ 2 รุ่นด้วยกัน คือ เหรียญพระแก้วมรกต สร้างเมื่อปี 2517 ซึ่งมีทั้งเนื้อเงิน ทองแดง (คาดว่าจะมีเนื้อทองคำด้วย) สำหรับเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก สร้างปี 2518 ประกอบด้วย เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเด่นทางเมตตามหานิยมเสียส่วนมาก

หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2430 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน เป็นบุตรของ นายลอย นางทับ รัตนดอน

บรรพชา เมื่ออายุ 17 ปี พ.ศ.2447 ณ วัดประดู่ฉิมพลี

อุปสมบท อายุ 20 ปี ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2450 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม

มรณภาพ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2524

รวมสิริอายุ 93 ปี 10 เดือน 22 วัน

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2468 ซึ่งวงการนิยมเรียกว่า “พระผงแช่น้ำมนต์ 13 พิมพ์แรก” หลังจากนั้นมีการสร้างติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งท่านมรณภาพ ทั้งประเภทพระเนื้อผง เหรียญ และพระกริ่ง ที่นิยมมากได้แก่ พระปิดตาพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พระปิดตาจัมโบ้ 1-2 พระปิดตาข้างกนก พระปิดตาหลังเต่า พระปิดตา นะ ทะ นะ และพระปิดตาปลดหนี้ เป็นต้น

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยมเป็นหลัก

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ กรุงเทพฯ

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ตรงกับขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก ในสมัยรัชการที่ 1 ณ บ้านไก่จัน ต.ท่าหลวง พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของ นางเกศ เป็นขาว

บรรพชา อายุ 12 ปี และย้ายมาอยู่วัดระฆังในสมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(นาค) เป็นเจ้าอาวาส

อุปสมบท ณ วัพพระศรีรัตนศาสดาราม ปี พ.ศ.2415

รวมสิริอายุ 84 ปี 2 เดือน 5 วัน

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

วัตถุมงคลของท่านที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งสร้างและปลุกเสกโดย เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีทั้งหมด 5 พิมพ์ คือ

พิมพ์พระประธาน หรือพิมพ์ใหญ่

พิมพ์ทรงเจดีย์

พิมพ์เกศบัวตูม

พิมพ์ฐานแซม

พิมพ์ปรกโพธิ์ ซึ่งพิมพ์นี้พบเห็นได้น้อยมาก จึงไม่ค่อยได้กล่าวมากนัก

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทาง เมตตามหานิยม

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่

ข้อมูลประวัติ

เกิด วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน10 ปีกุน เป็นบุตรของนายบุญ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง

อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบ้านถนนหักใหญ่ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

หลวงพ่อคูณ ร่วมสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 ขณะพำนักจำพรรษาอยู่วัดแจ้งนอก อ.เมือง เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ไม่แพ้เหรียญรุ่นสร้างบารมี ปี 19 ซึ่งออกในนามวัดบ้านไร่

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด

ประวัติหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
ทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู" เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วงเจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมาเมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมดครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทมรุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม" ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีรามท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลยขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น
พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"
กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยาขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้วท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไปเมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสีพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี:วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย ได้จัดสร้าง พระสมเด็จชินบัญชร และ"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรก พระเถราจารย์ร่วมจารแผ่นยันต์ บรรจุแผ่น พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นสุดยอดอมตะเถราจารย์ดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยรู้จักมากที่สุด ทั้งนี้ มีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ท่านนอนอยู่ที่อยุธยา มานั่งที่ไชโย มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง" และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำและรำลึกถึงสถานที่สำคัญ ท่านจึงสร้างปูชนียวัตถุอันเป็นที่พึ่งทางใจของผู้พบเห็น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ใหญ่โตตามนามของท่าน อาทิ พระนอน (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ, พระนั่งองค์ใหญ่ (พระมหาพุทธพิมพ์) วัดไชโย จ.อ่างทอง พระยืน (พระศรีอาริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหม) ฯลฯ นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้าง "พระสมเด็จวัดระฆัง" สุดยอดพระเครื่องเนื้อผงที่สูงส่งด้วยพุทธานุภาพ จนได้รับการยกย่องให้เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับการถวายสมญานามว่าเป็น "ราชาแห่งพระเครื่อง" ด้วย

ทั้งนี้ หากกล่าวถึงสมเด็จโต ย่อมต้องนึกถึง "พระคาถาชินบัญชร" ควบคู่ไปด้วย เพราะสมเด็จโตท่านใช้เป็นพระคาถาปลุกเสกพระพิมพ์สมเด็จจนมีพุทธคุณความเข้ม ขลังมาตราบจนทุกวันนี้ พระคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา สมเด็จโตท่านค้นพบในคัมภีร์โบราณ แล้วดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาที่ได้เคยตรัสรู้มา ก่อนหน้านั้น
"รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายใน"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรกจากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพอันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่ เหมือนกัน นอกจากนั้น ยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้อง เป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถา ลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้ โดยเชื่อกันว่า การท่องพระคาถาชินบัญชรทุกวันเปรียบเสมือนมีพระสมเด็จบูชาอยู่กับตัวเช่นกัน ล่าสุด คณะกรรมการดำเนินงานจัดหาทุน เพื่อสมทบทุนการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม "ธรรมโมลี" ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสมทบทุนโครงการสร้างพระถวายเจ้าพ่อหลวงของแผ่นดิน "พระพุทธอสีติวัสสามหาบพิตร" ณ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาฯ วัดสังฆาราม อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "สมเด็จชินบัญชร รุ่นประทานเงิน ประทานทอง ได้เงิน ได้ทอง ต่อเงิน ต่อทอง" โดยนำพระพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ประธาน, พิมพ์เส้นด้าย และพิมพ์เกศไชโย 7 ชั้นนิยม มาสร้างย้อนยุค โดยได้รับมวลสารจากวัดต่างๆ มาเป็นส่วนผสม พระวิปัสสนาจารย์ และพระเถราจารย์ชั้นนำร่วมจารแผ่นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมบรรจุแผ่นพระคาถาชินบัญชรวัตถุมงคลพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี ชุดนี้ประกอบด้วย สมเด็จชินบัญชร พิมพ์ประทาน สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย สมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม ด้านหน้า แต่ละพิมพ์มี 3 แบบคือ สมเด็จชินบัญชร ด้านหน้าทองคำ หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองคำ, ด้านหน้าเงิน หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อเงิน ด้านหน้าทองเหลือง หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองเหลือง นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้าง ตะกรุดชินบัญชร รุ่นแรก ซึ่งมีความแปลกใหม่ ให้ความเข้มขลังด้วยการนำ "รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายในตะกรุด โดยรังต่อเสือนี้ผ่านพิธีปลุกเสกเดี่ยวด้วยพระคาถาอาคมของเกจิอาจารย์ดัง แห่งยุคคือ หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อรวย วัดตะโก สร้าง 3 แบบคือ "ต่อเงิน ต่อทอง ต่อทองเหลือง" พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร 1 พรรษา (ตลอดไตรมาส) โดยกำหนดฤกษ์มหามงคลภายใน 3 เดือน แห่งการเข้าพรรษา อัญเชิญวัตถุมงคลไปจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอารามที่เป็นต้นกำเนิดการสร้างวัตถุมงคลของสมเด็จโตจำนวน 3 วาระ คือ ปฐมฤกษ์ วันเสาร์ที่ 18 ก.ค.2552 ณ วัดไชโยวรวิหาร อ.เมือง จ.อ่างทอง ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เกศไชโย" เวลา 17.19 น.พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก ทุติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 8 ส.ค.2552 ณ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) เขตพระนคร กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกปลุกเสก ตติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 26 ก.ย.2552 ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์ประธาน" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรก อาทิ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน เป็นต้น

เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก ปี 2482


เหรียญครูบาศรีวิชัย รุ่นแรก ปี 2482
เหรียญครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน ปี พ.ศ.2482วัดบ้านปาง เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก กันทั่วๆ ไปมานานแล้ว โดยเรียกกันตามชื่อของหมู่บ้าน ประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.2439 ครูบาขัติยะ เป็นพระที่อยู่ในเมืองลำพูน ได้เดินธุดงค์มาถึงบ้านปางและพักที่เชิงเขาทางทิศเหนือ ประชาชนถิ่นนั้นเคารพเลื่อมใสท่านมาก และได้ช่วยกันสร้างกุฏิที่พักเพื่อจะได้ให้ท่านได้พักจำพรรษา และจะได้ใช้ประกอบกุศลทำบุญต่อมาในปีนั้นเอง ครูบาศรีวิชัยก็ได้มาฝากตัวเป็นศิษย์และบรรพชาเป็นสามเณร กระทั่งอายุครบบวชในปี พ.ศ.2441 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบ้านปางนั่นเอง ต่อมาภายหลังครูบาขัติยะท่านได้ธุดงค์ไปถิ่นฐานอื่น ท่านครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นเจ้าอาวาสแทน แต่ท่านได้เห็นว่า ที่ตั้งวัดไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2446 ท่านจึงได้ย้ายวัดจากที่เดิมไปสร้างวัดขึ้นบนเนินภูเขา ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดในปัจจุบัน แล้วขนานนามวัดใหม่ว่า "วัดศรีจอมสหรีศรีทรายมูลบุญเรือง" แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกกันติดปากว่า "วัดบ้านปาง" กิตติคุณของท่านแพร่หลายเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือของชาวล้านนาเป็นอย่างมากครูบาศรีวิชัย ท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและเป็นที่เคารพ ศรัทธามากของจังหวัดทางภาคเหนือ ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ได้สร้างถนนหนทางและวัดวาอารามมากมาย จนชาวเหนือยกให้ท่านเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา มีอยู่ครั้งหนึ่งเมื่อท่านเดินทางไปนมัสการพระธาตุช่อแฮ ที่เมืองแพร่ บรรดาชาวเมืองแพร่พากันเอาน้ำใส่ภาชนะมาขอน้ำมนต์กันเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีผู้สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วย ขาดที่พึ่งต้องการกำลังใจ ท่านครูบาศรีวิชัยจึงมีเมตตา สงสารปรารถนาจะให้ผู้ที่นำน้ำมาสมปรารถนา จึงเอาลูกประคำที่ท่านสวมใส่ใช้บริกรรมคาถาภาวนาอยู่เป็นประจำ จุ่มลงไปในน้ำที่อยู่ในภาชนะต่างๆ โดยทั่วถึงกัน ผลก็คือความปลาบปลื้มใจของผู้ที่ได้มาในวันนั้นเป็นอย่างมาก ต่างก็นำไปเก็บบูชาและอธิษฐานขอตามความปรารถนา ครูบาศรีวิชัยท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2481 สิริอายุได้ 60 ปี พรรษาที่ 40วัตถุมงคลของท่านนั้นได้จัดสร้างภายหลังจากที่ท่านมรณภาพแล้วทั้งสิ้น มูลเหตุในการสร้างก็คือ พระครูวิมลญาณประยุต (มหาสุดใจ วิกสิตฺโต) ซึ่งเป็นพระที่มาจากวัดเบญจมบพิตร ซึ่งมาช่วยบริหารคณะสงฆ์ จังหวัดลำพูน ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน พิจารณาจัดสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่ระลึกและเพื่อจะนำรายได้มาใช้จ่ายในงานทำศพครูบาศรีวิชัย โดยมีนายคล้อย ทรงบัณฑิต เป็นผู้นำมาจัดทำที่กรุงเทพฯ ผู้ออกแบบ เหรียญครูบาศรีวิชัยคือ พระกองแก้ว นาถกโร วัดมหาวัน ลำพูน เหรียญนี้ได้ออกให้เช่าราคาเหรียญละ 5 สตางค์ ส่วนพระเกศานั้นทำแจกฟรี
เหรียญครูบาศรีวิชัย ที่สร้างใน ปี พ.ศ.2482 นั้นเป็นที่เคารพศรัทธา และแบบรูปไข่ครึ่งองค์ตามที่ผมนำรูปมาให้ชมนี้มีอยู่สองบล็อก คือบล็อก 2 ชาย และ 3 ชาย ปัจจุบันมีสนนราคาสูง และนิยมกันมาก รูปที่นำมาลงให้ชมกันนี้ เหรียญครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นเหรียญรูปไข่ปี พ.ศ. 2482 บล็อกพิมพ์ 2 ชายครับด้วยความจริงใจที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด แทน ท่าพระจันทร์