วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี


พระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสีพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี:วัดสังฆาราม จ.สุโขทัย ได้จัดสร้าง พระสมเด็จชินบัญชร และ"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรก พระเถราจารย์ร่วมจารแผ่นยันต์ บรรจุแผ่น พระคาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นสุดยอดอมตะเถราจารย์ดังแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่คนไทยรู้จักมากที่สุด ทั้งนี้ มีวลีกล่าวถึงประวัติของท่านอยู่ประโยคหนึ่งว่า "ท่านนอนอยู่ที่อยุธยา มานั่งที่ไชโย มาโตที่วัดอินทร์ จำศีลที่วัดระฆัง" และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำและรำลึกถึงสถานที่สำคัญ ท่านจึงสร้างปูชนียวัตถุอันเป็นที่พึ่งทางใจของผู้พบเห็น ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ใหญ่โตตามนามของท่าน อาทิ พระนอน (พระพุทธไสยาสน์) วัดสะตือ, พระนั่งองค์ใหญ่ (พระมหาพุทธพิมพ์) วัดไชโย จ.อ่างทอง พระยืน (พระศรีอาริยเมตไตรย) วัดอินทรวิหาร (วัดบางขุนพรหม) ฯลฯ นอกจากนี้ ท่านยังได้สร้าง "พระสมเด็จวัดระฆัง" สุดยอดพระเครื่องเนื้อผงที่สูงส่งด้วยพุทธานุภาพ จนได้รับการยกย่องให้เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับการถวายสมญานามว่าเป็น "ราชาแห่งพระเครื่อง" ด้วย

ทั้งนี้ หากกล่าวถึงสมเด็จโต ย่อมต้องนึกถึง "พระคาถาชินบัญชร" ควบคู่ไปด้วย เพราะสมเด็จโตท่านใช้เป็นพระคาถาปลุกเสกพระพิมพ์สมเด็จจนมีพุทธคุณความเข้ม ขลังมาตราบจนทุกวันนี้ พระคาถานี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา สมเด็จโตท่านค้นพบในคัมภีร์โบราณ แล้วดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาที่ได้เคยตรัสรู้มา ก่อนหน้านั้น
"รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายใน"ตะกรุดชินบัญชร" รุ่นแรกจากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพอันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่ เหมือนกัน นอกจากนั้น ยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้อง เป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถา ลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้ โดยเชื่อกันว่า การท่องพระคาถาชินบัญชรทุกวันเปรียบเสมือนมีพระสมเด็จบูชาอยู่กับตัวเช่นกัน ล่าสุด คณะกรรมการดำเนินงานจัดหาทุน เพื่อสมทบทุนการสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรม "ธรรมโมลี" ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมธรรมโมลี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และสมทบทุนโครงการสร้างพระถวายเจ้าพ่อหลวงของแผ่นดิน "พระพุทธอสีติวัสสามหาบพิตร" ณ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาฯ วัดสังฆาราม อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย ได้จัดสร้างวัตถุมงคล "สมเด็จชินบัญชร รุ่นประทานเงิน ประทานทอง ได้เงิน ได้ทอง ต่อเงิน ต่อทอง" โดยนำพระพิมพ์สมเด็จ พิมพ์ประธาน, พิมพ์เส้นด้าย และพิมพ์เกศไชโย 7 ชั้นนิยม มาสร้างย้อนยุค โดยได้รับมวลสารจากวัดต่างๆ มาเป็นส่วนผสม พระวิปัสสนาจารย์ และพระเถราจารย์ชั้นนำร่วมจารแผ่นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ พร้อมบรรจุแผ่นพระคาถาชินบัญชรวัตถุมงคลพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร พิธี3วัดดัง สมเด็จโต พรหมรังสี ชุดนี้ประกอบด้วย สมเด็จชินบัญชร พิมพ์ประทาน สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย สมเด็จเกศไชโย 7 ชั้นนิยม ด้านหน้า แต่ละพิมพ์มี 3 แบบคือ สมเด็จชินบัญชร ด้านหน้าทองคำ หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองคำ, ด้านหน้าเงิน หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อเงิน ด้านหน้าทองเหลือง หลังฝังแผ่นคาถาชินบัญชรแบบย่อทองเหลือง นอกจากนี้ ยังได้จัดสร้าง ตะกรุดชินบัญชร รุ่นแรก ซึ่งมีความแปลกใหม่ ให้ความเข้มขลังด้วยการนำ "รังต่อเสือ" ขนาดยักษ์มาเป็นผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์บรรจุไว้ภายในตะกรุด โดยรังต่อเสือนี้ผ่านพิธีปลุกเสกเดี่ยวด้วยพระคาถาอาคมของเกจิอาจารย์ดัง แห่งยุคคือ หลวงพ่อจง วัดสังฆาราม, หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน, หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่, หลวงพ่อรวย วัดตะโก สร้าง 3 แบบคือ "ต่อเงิน ต่อทอง ต่อทองเหลือง" พิธีมหาพุทธาภิเษกพระสมเด็จชินบัญชร ตะกรุดชินบัญชร 1 พรรษา (ตลอดไตรมาส) โดยกำหนดฤกษ์มหามงคลภายใน 3 เดือน แห่งการเข้าพรรษา อัญเชิญวัตถุมงคลไปจัดพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอารามที่เป็นต้นกำเนิดการสร้างวัตถุมงคลของสมเด็จโตจำนวน 3 วาระ คือ ปฐมฤกษ์ วันเสาร์ที่ 18 ก.ค.2552 ณ วัดไชโยวรวิหาร อ.เมือง จ.อ่างทอง ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เกศไชโย" เวลา 17.19 น.พระเกจิคณาจารย์ชื่อดังร่วมนั่งปรกปลุกเสก ทุติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 8 ส.ค.2552 ณ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) เขตพระนคร กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์เส้นด้าย" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกปลุกเสก ตติยฤกษ์ วันเสาร์ที่ 26 ก.ย.2552 ณ วัดระฆังโฆสิตาราม เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ต้นกำเนิด "สมเด็จพิมพ์ประธาน" เวลา 17.19 น. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ประธานจุดเทียนชัย พระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรก อาทิ หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว, หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น